โครงสร้างของโปรแกรม การเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ การทำงานแบบลำดับ ( Sequence ) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข ( Decision ) และการทำซ้ำ ( Loop ) ดังนี้ 1. การทำงานตามลำดับ ( Sequence ) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัดโปรแกรมเขียนแผ่นและทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการ ได้แก่ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ โดยเขียนเป็นผังงาน ( Flowchart ) ได้ดังภาพ การทำงานตามลำดับ ( Sequence ) ตัวอย่างการทำงานตามลำดับ ( Sequence ) ตัวอย่าง ผังงานการเดินทางจากบ้านไปยังโรงเรียน ตัวอย่างการทำงานตามลำดับ ( Sequence ) 2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข ( Decision ) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ ได้แก่ เงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจากกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั่น เช่น การตัดเกรดนักเรียน เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว การเลือกกระทำตามเงื่อนไข ( Decision ) ตัวอย่างการเลือกกระทำตามเงื่อนไข ( Decision ) ตัวอย่าง ผังงานการแก้ปัญหาโปรแกรมตัดสินคะแนน ตัวอย่างการเลือกกระทำตามเงื่อนไข ( Decision ) 3. การทำซ้ำ ( Repeation or Loop ) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม การทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ( Flowchart ) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการถึงรูปแบบการทำงานและใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างทำงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการเขียนคำสั่งซ้ำซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นดัง ภาพ การทำซ้ำ ( Repeation or Loop ) ตัวอย่างการทำซ้ำ ( Repeation or Loop ) ตัวอย่าง ผังงานการแก้ปัญหาโปรแกรมแฟคทอเรียล ตัวอย่างการทำซ้ำ ( Repeation or Loop ) |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 > หน่วยที่ 1 หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม >