2.1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม

ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม

                1. การประกาศตัวแปร ใช้ตัวแปร 3 ตัว เพื่อเก็บค่าความยาวฐาน (Base) ส่วนสูง (Height) และพื้นที่ (Area) โดยประกาศให้เป็นแบบ float (ตัวเลขมีทศนิยม) ดังนี้

          Float Tri_Base, Tri_Height, Tri_Area ;

          2. การกำหนดค่า เขียนเป็นประโยคคำสั่งได้ ดังนี้

                   Tri_Base = 3 ;

                   Tri_Height = 5;

          3. การคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดค่าฐานและสูงใช้สูตร

                   พื้นที่สามเหลี่ยม = (ฐาน x สูง) /2 ;

          เขียนเป็นประโยคคำสั่งได้ ดังนี้

                   Tri_Area = (Tri_Base * Tri_Height) / 2;

                   หรือ Tri_Area = 0.* Tri_Base * Tri_Height;

          4. การแสดงผล แสดงค่าพื้นที่รูปสามเหลี่ยม ดังนี้

                   Printf (“Area of Triangle = %f\n, Tri_Area) ;

          เขียนผังงานของโปรแกรมหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม ได้ดังภาพ 4-7

 

  ภาพ 4 -7 ผังงานของโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

          จากผังงาน เขียนโปรแกรมได้ดังนี้

ภาพ 4-8 โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

 

          จากตัวอย่างจะเห็นว่าการใช้ Dev-C++ พัฒนาโปรแกรมใช้งานคำนวณไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป คำสั่งภาษา C เป็นคำสั่งง่าย ๆ สามารถศึกษาทำความเข้าใจได้

 

 ขั้นตอนการพัฒนาาโปรแกรมด้วย ภาษา C

        การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษา C มีอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่

            1. การเขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่าง ๆ ของภาษา C มาเขียนเรียงต่อกัน จนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ

            2. คอมไพล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใด ๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้นให้เป็นภาษาเครื่องก่อน

            3. การลิงค์โปรแกรม ในภาษา C นั้น จะมีฟังก์ชั่นต่าง ๆ ทีเตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อคอมไพล์แล้วจะทำการดึงโปรแกรมที่กำลังทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์ การรันโปรแกรม เมื่อ ทำการลิงค์เสร็จแล้ว โปรแกรมนั้นก็พร้อมที่จะรัน และเมื่อรันโปรแกรม โดยใช้คำสั่งของระบบปฎิบัติงาน โปรแกรมนั้นจะถูกโหลดลงสู่หน่วยความจำหลัก จานั้นก็ทำการรัน ซึ่งเรียกว่า Loader การพัฒนาโปรแกรม การพัฒนาโปรแกรมขั้นมา ไม่ใช่จะเขียนโปรแกรมได้เลย เพราะการพัฒนาโปรแกรมนั้นจะมีขั้นตอน ที่เรียกว่า System Development Life Cycle โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. หาความต้องการของระบบ (System Requirements) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง

    2. วิเคราะห์ (Analysis) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ต้องการได้หรือไม่

    3. ออกแบบ (Design) เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะเป็นอย่างไรขั้นตอนต่อมาก็คือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้

    4. เขียนโปรแกรม (Code) เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ออกแบบไว้

    5. ทดสอบ (System Test) เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ 

    6. ดูแล (Maintenance) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม

 

ค่าคงที่ (Constant)

          การใช้ข้อมูลที่มีค่าซ้ำกันอยู่บ่อย ๆ และค่าข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดการใช้งานในโปรแกรม ควรเก็บข้อมูลนั้นไว้ในตัวแปรและประกาศตัวแปรให้เป็นแบบค่าคงที่

          การประกาศตัวแปรให้เป็นแบบค่าคงที่และกำหนดค่าเก็บไว้ ใช้รูปแบบคำสั่ง ดังนี้

const แบบข้อมูล ชื่อตัวแปร = ค่าข้อมูล

          เช่น การประกาศตัวแปรชื่อ Pi เพื่อกำหนดค่าของ p ให้เป็นค่าคงที่แบบ float เขียนคำสั่งได้เป็น

                   const float Pi = 3.141592 ;

          การประกาศค่าคที่จะทำให้บริเวณส่วนประกาศตอนต้นของโปรแกรมเช่นเดียวกับการประกาศตัวแปร

 

          การใช้ค่าคงที่

          ค่าคงที่ที่ประกาศไว้แล้วสามารถเรียกใช้ต่อไปได้ เช่น นำไปคำนวณ เปรียบเทียบหรือแสดงค่า การแสดงค่าคงที่ทำได้เช่นเดียวกับการแสดงค่าของตัวแปร

          เมื่อประกาศตัวแปรใดให้เก็บค่าคงที่ไว้แล้ว จะประกาศค่าใหม่โดยใช้ประโยคคำสั่ง กำหนดค่าไม่ได้จะเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น ถ้ากำหนดค่าให้ Pi = 3.14 ตัวแปลภาษาสจะบอกความผิดพลาดดังนี้

                   Error #2032: Assignment to const identifier Pi’.

 

การเขียนโปรแกรมใช้งานคำนวณ

          การคำนวณจะใช้ประโยคคำสั่งกำหนดค่าให้ตัวแปรด้วยการคำนวณ ดังนี้

ตัวแปรแบบตัวเลข = Expression ;

 

          นิพจน์ (Expression) อาจประกอบด้วยตัวแปร ข้อมูล หรือค่าคงที่ใด ๆ และมีเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณหรืออย่างอื่นผลลัพธ์ของนิพจน์ด้านขวาที่เป็นค่าตัวเลขจะถูกเก็บไว้ที่ตัวแปรแบบตัวเลขด้านซ้ายของประโยคคำสั่ง

          ผลของการคำนวณขึ้นอยู่กับแบบของข้อมูลที่ใช้ ถ้าค่าข้อมูลที่นำมาคำนวณเป็นแบบเลขจำนวนเต็ม

          เครื่องหมายการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators) ของภาษา C มีดังนี้

 

เครื่องหมาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

ผลลัพท์

*

คูณ

* 5

20

/

หาร

5./ 2.0

2.5

 

หารจำนวนเต็ม

/ 2

2

%

หารเอาเศษจำนวนเต็ม (mod)

% 2

1

+

บวก

12 + 5

17

-

ลบ

12 - 5

7

 

หมายเหตุ   1. เครื่องหมาย * และ / จัดอยู่ในลำดับการทำงานเดียวกัน ถ้ามีการคูณและหารอยู่ใน

                  ประโยคคำสั่งเดียวกัน การคำนวณจะเริ่มทำจากซ้ายไปขวาของประโยคคำสั่ง

               2. การคูณหรือหารจะทำก่อนการบวกหรือลบ

               3. เครื่องหมาย + และ - จัดอยู่ในลำดับการทำงานเดียวกัน ถ้ามีการบวกและลบ

                   อยู่ในประโยคคำสั่งเดียวกัน การคำนวณจะเริ่มทำจากซ้ายไปขวาของประโยคคำสั่ง

 

          ถ้าต้องการให้คำนวณอะไรก่อนให้ใช้วงเล็บ ( ) กำกับ เช่น

                   2 * ( 3 + 2 ) จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 * 5 คือ 10

                   แต่ถ้าไม่ใส่วงเล็บ 2 * 3 + 2 จะได้ผลลัพธ์เป็น 8

          การใช้วงเล็บกำกับอาจใช้ซ้อนกันหลายอันได้ โดยการคำนวณจะทำตั้งแต่วงเล็บข้างในสุดก่อนเสมอ

          ตัวอย่าง ประโยคคำสั่งกำหนดค่าด้วยการคำนวณ

Sum = A + B + 1 ;

 

Average = Sum / 3.0 ;

 

= (B*– (* A * C ));

 

สรุป

          ข้อมูลที่ใช้ใน C แบ่งเป็น 5 แบบ คือ แบบบูลีน แบบตัวอักษร แบบตัวเลข จำนวนเต็ม แบบตัวเลขจำนวนจริง และแบบไม่มีค่า

          การเลือกใช้แบบข้อมูลพิจารณาจากช่วงค่าข้อมูลที่ใช้ได้

          ตัวแปรใช้สำหรับเก็บค่าข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณ เปรียบเทียบ หรือแสดงผลก่อนใช้ตัวแปรต้อประกาศและกำหนดค่าตามแบบข้อมูลก่อน

          การตั้งชื่อตัวแปรต้องพิจารณาหลายอย่าง โดยเฉพาะห้ามซ้ำกับคำสงวนหลักประโยคที่เริ่มด้วย // หมายถึง ประโยคหมายเหตุ ไม่ใช่ประโยคคำสั่ง

การแสดงค่าของข้อมูลหรือตัวแปร ทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน printf ( )

ค่าคงที่เป็นค่าข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมเมื่อกำหนดค่าแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้

Comments